1. การจัดการประชุมวิชาการการประชุมวิชาการประจำปี
- ราชวิทยาลัยฯจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2558 - the 36th Annual Meeting of the RoyalCollege of Orthopaedic Surgeons of Thailand (RCOST) ในวันที่ 22 - 24 ตุลาคม 2558 ประธานจัดงานคือนพ.อารี ตนาวลี และเลขาธิการคือนพ.ชาลี สุเมธวานิชย์
- การจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2559 ราชวิทยาลัยฯได้แต่งตั้งแพทย์หญิงกันยิกา ชำนิประศาสน์เป็นประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2559 และเลขาธิการคือนพ.กีรติ เจริญชลวานิช โดยจะมีการประชุมในวันที่ 6 - 8 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติฯ จ.เชียงใหม่การประชุมวิชาการส่วนภูมิภาค
- การประชุมส่วนภูมิภาค ปี 2559 จัดที่โรงแรมโซฟิเทลกระบี่โภคีธรา วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2559ในหัวข้อ Master Secret in Orthopaedic Surgery โดยมี นพ.มาโนชญ์ จันทรศรเป็นประธาน และนพ.ชาลีสุเมธวานิชย์ เป็นเลขานุการจัดการประชุม
2. การทูลเกล้าฯถวายเงินเนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา
ตามที่ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยได้รับพระมหากรุณาธิคุณฯให้อยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ มาตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2539 และได้ถวายการรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาทมาโดยตลอดนับต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย และเป็นวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย จนถึงปัจจุบันนั้น เนื่องในวโรกาสมหามงคลที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558 คณะกรรมการบริหารฯและสมาชิกฯต่างรู้สึกปลื้มปิติเป็นล้นพ้น จึงได้ขอรับพระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯและคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการประจำปี 2557 เข้าเฝ้าฯทูลเกล้าฯถวายเงินแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย เป็นจำนวน 2,000,000 บาท โดยได้รับพระราชทานพระราชานุญาตให้เข้าเฝ้าและร่วมฉายพระรูปเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา
3. การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา “สัปดาห์วิชาการโรคกระดูกและข้อ-ความรู้สู่ประชาชน”
เนื่องในวันที่ 2 เมษายน 2558 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ60 พรรษา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์ในการพัฒนาประเทศนั้นต่อเนื่องยาวนานในทุกๆด้านพระราชกรณียกิจของพระองค์ในด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขนั้น เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่บุคลากรทางสาธารณสุขได้ประพฤติปฏิบัติตามในการที่จะช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากความป่วยไข้ และมสี ขุ ภาพอนั ดยี งิ่ ๆขึ้นไป ราชวิทยาลัยฯในฐานะองค์กรวิชาชีพของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ทั่วประเทศไทย จึงได้ร่วมกับโรงพยาบาลทั่วประเทศ 42 แห่ง จัดทำ “โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา “สัปดาห์วิชาการโรคกระดูกและข้อ-ความรู้สู่ประชาชน” เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย ไปสู่คนไทยทั้งประเทศ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง สำหรับโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อย อันจะนำสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีการจัดงาน”สัปดาห์สุขภาพกระดูกและข้อ” ในระหว่างวันที่ 11 – 17 กรกฎาคม 2558 ตามโรงพยาบาลต่างๆที่อยู่ในโครงการฯ42 แห่ง ดังมีรายละเอียดกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. จัดนิทรรศการให้ความรู้แก่ประชาชน เรื่องโรคทางกระดูกและข้อที่พบบ่อย จำนวน 10 โรคโดยราชวิทยาลัยฯผลิตโปสเตอร์และส่งไปให้โรงพยาบาลต่างๆในโครงการ จัดแสดงในพื้นที่จัดงาน
2. จัดการบรรยาย เรื่องโรคกระดูกและข้อ ในระยะเวลาครึ่งวัน โดยจัดบรรยาย จำนวน 4 โรคโรคละ 30 นาที ได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคข้อเสื่อม โรคปวดหลัง และโรคข้อติด โดยราชวิทยาลัยฯจัดทำชุดสไลด์พร้อมบทบรรยาย เพื่อให้วิทยากรของแต่ละโรงพยาบาลบรรยายให้แก่ประชาชน และบุคลากรที่สนใจ
4. กิจกรรมสานสัมพันธ์สมาชิก
ราชวิทยาลัยฯจัดกิจกรรม “สานสัมพันธ์สมาชิก” ครั้งที่ 1/2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและราชวิทยาลัยฯ เป็นการเปิดโอกาสให้กรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯได้มีโอกาสพบสมาชิกที่อยู่ในจังหวัดต่างๆในภูมิภาค รับทราบปัญหาในการปฏิบัติงานของสมาชิก โดยทางราชวิทยาลัยฯมีความตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมช่วยในการบรรเทาปัญหาของสมาชิกในขอบเขตที่พึงกระทำได้ ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกมีความเข้าใจในการดำเนินงานของราชวิทยาลัยฯ และกระตุ้นให้สมาชิกมีส่วนร่วมในกิจกรรมของราชวิทยาลัยฯเพิ่มมากขึ้น โดยในครั้งนี้คณะกรรมการฯได้เดินทางไปเยี่ยมสมาชิกใน รพ.สุโขทัย, รพ.ศรีสังวร,รพ.ตาก และรพ.แม่สอด เมื่อวันที่ 17-18 สิงหาคม 2558สำหรับปี 2559 กิจกรรมสานสัมพันธ์สมาชิกได้จัดก่อนการประชุมวิชาการส่วนภูมิภาคที่จังหวัดกระบี่โดยคณะกรรมการบริหารฯ ได้ออกเยี่ยมสมาชิกที่ภาคใต้ที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พังงา ตรัง และโรงพยาบาลกระบี่ ระหว่าง วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2559
5. การจัดทำข่าวสารราชวิทยาลัยฯ
ราชวิทยาลัยฯได้เริ่มจัดทำทำข่าวสารราชวิทยาลัยฯขึ้นมาใหม่ เพื่อสื่อสาร ประชาสัมพันธ์กิจกรรม กับสมาชิกที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีสมาชิกส่วนหนึ่งแจ้งความประสงค์จะรับทราบข่าวสารจากราชวิทยาลัยฯทางจดหมายข่าว โดยเริ่มจัดทำใหม่ฉบับแรก สำหรับเดือน กรกฎาคม-กันยายน 2558 และจะจัดทำต่อเนื่องเป็นราย 3 เดือน มีนพ.ชาลี สุเมธวานิชย์ เป็นบรรณาธิการ
6. การจัดทำหนังสือออร์โธปิดิกส์ 50 ปี
ตามที่มีการก่อตั้งชมรมออร์โธปิดิกส์เมื่อปี พ.ศ.2509 และต่อมาเป็นสมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2519 จนกระทั่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าทรงรับให้อยู่ในพระราชูปถัมภ์เป็นราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทยเมื่อ 18 พฤษภาคม 2539 ฉะนั้นปี 2559 จึงนับเป็นปีที่มีการก่อตั้งชมรม-สมาคม-ราชวิทยาลัยฯ เป็นปีที่ 50 คณะกรรมการบริหารฯวาระ 2555-2557 โดยประธานฯขณะนั้นคือนพ.ธวัช ประสาทฤทธา จึงมีดำริจัดทำหนังสือออร์โธปิดิกส์ 50 ปี เพื่อรวบรวมผลงานเด่นๆของราชวิทยาลัยฯของสถาบันฝึกอบรมที่เปิดอยู่เดิม และสถาบันฝึกอบรมที่เปิดใหม่ เพื่อบันทึกให้สมาชิกรุ่นต่อไปได้ทราบ โดยมีนพ.พงษ์ศักดิ์ วัฒนา และนพ.ธวัชประสาทฤทธา เป็นบรรณาธิการ หนังสือที่ระลึกนี้สำเร็จและมอบให้สมาชิกได้
ในปี 2559
7. การปรับปรุงหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์พ.ศ.2558
คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯในวาระที่นพ.อดิศร ภัทราดูลย์เป็นประธาน ได้เริ่มทำการปรับปรุงเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านฉบับใหม่เพื่อให้สามารถระบุผลสัมฤทธิ์ของแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นไปตามทิศทางการจัดการศึกษาที่ใช้ผลสัมฤทธิ์เป็นฐาน (Outcome-basededucation) และประเมินผลให้สอดคล้อง โดยแพทยสภาได้รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาออร์โธปิดิกส์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2558 ไปเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 และเริ่มใช้สำหรับปีการฝึกอบรม 2558 เป็นต้นไป
8. การจัดทำหนังสือและตำราของราชวิทยาลัยฯ
ในวาระ 2557- 2559 คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของหนังสือ-ตำราที่จะช่วยเสริมความรู้ที่ทันสมัยให้สมาชิกที่ปฏิบัติงานตามโรงพยาบาล และให้ความรู้พื้นฐานทางออร์โธปิดิกส์ที่เป็นมาตรฐานสำหรับแพทย์ที่อยู่ในการฝึกอบรม จึงได้ผลิตหนังสือ-ตำรา ต่อไปนี้
- หนังสือ “ออร์โธปิดิกส์วิวัฒน์ 1” ศ.นพ. อารี ตนาวลี ประธานการจัดการประชุมวิชาการประจำปี2558 ริเริ่มที่จะจัดทำหนังสือนี้ เพื่อนำเอาเนื้อหา ในการบรรยาย จากการประชุม โดยเฉพาะหัวข้อที่น่าสนใจมีความทันสมัย จากวิทยากรแต่ละท่าน มารวบรวม เพื่อจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม ให้กับสมาชิกที่ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม ถือเป็นการเติมเต็มให้กับสมาชิกให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ทำให้สมาชิกสามารถติดตามและก้าวทันความรู้ที่มีการพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งในแต่ละปี ทำให้การเรียนรู้สามารถกระทำได้แม้ภายหลังการประชุมวิชาการแล้วถือเป็นสื่อทางวิชาการที่เหมาะสมสำหรับสมาชิกในแง่ของการศึกษาต่อเนื่องได้อีกทางหนึ่ง โดยมี รศ.นพ.ทิพชาติบุญยรัตพันธุ์ ซึ่งเป็นประธานฝ่ายวิชาการของการจัดประชุมวิชาการประจำปี 2558 และอ. นพ.สาธิต เที่ยงวิทยาพรเป็น บรรณาธิการ
- ตำรา “ออร์โธปิดิกส์ปัญญาวัตร 1” วัตถุประสงค์ในการนิพนธ์ตำราเล่มนี้ เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านแพทย์ฝึกอบรมต่อยอดและแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ทราบและเข้าใจหลักการวินิจฉัยและแนวทางในการดูแลรักษาโรคกระดูก-ข้อที่มีความสำคัญและอยู่ในความสนใจ สามารถใช้อ้างอิงทางวิชาการได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและทันสมัย สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดย มีนพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล เป็นบรรณาธิการ
- หนังสือ “ออร์โธปิดิกส์วิวัฒน์ 2” เป็นหนังสือที่จัดทำต่อเนื่อง สำหรับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี 2559 โดยเขียนจากหัวข้อที่เป็นการบรรยายในส่วนของ Instructional Course และเนื้อหาสำคัญจากOrthopaedic Integration โดยมีนพ.สุพิชัย เจริญวารีกุล ประธานฝ่ายวิชาการ เป็นบรรณาธิการ
9. การจัดตั้ง “คณะกรรมการเพื่อการศึกษาและวิจัย ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ”(RCOST Education & Research Committee)
คณะกรรมการบริหารฯ วาระ 2557-2559 เล็งเห็นว่าราชวิทยาลัยฯของเรานอกจากการทำหน้าที่จัดการสอน การฝีกอบรมแพทย์ เพื่อให้มีความรู้ความชำนาญในสาขาออร์โธปิดิกส์ ซึ่งจะเป็นแพทย์ที่ให้การบริบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านออร์โธปิดิกส์ในระบบสาธารณสุขของประเทศแล้ว หน้าที่สำคัญของราชวิทยาลัยฯหลังจากนั้นคือการส่งเสริมการศึกษา เพื่อให้แพทย์ออร์โธปิดิกส์ของประเทศมีความรู้ที่ทันสมัย ทันความก้าวหน้าทางวิชาการที่อิงหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อเพิ่มมาตรฐานการดูแลรักษาทางออร์โธปิดิกส์อย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันราชวิทยาลัยฯ ยังมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนสมาชิกในด้านการวิจัย เพื่อให้มีการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างกว้างขวาง และสามารถได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ จึงได้ริเริ่มจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นใหม่อีกหนึ่งชุดเพื่อทำงานคู่ขนานกับ“คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบฯ”ซึ่งทำหน้าที่ดูแลการฝึกอบรมแพทย์จนได้รับวุฒิบัตรฯคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นใหม่คือ “คณะกรรมการเพื่อการศึกษาและวิจัย ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ฯ”(RCOST Education & Research Committee) จะทำหน้าที่ดูแลแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่ได้รับวุฒิบัตรฯแล้วโดยจะพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน การศึกษาต่อเนื่อง และการทำวิจัยของแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ให้เป็นไปในทิศทางและเป้าหมายที่ราชวิทยาลัยฯกำหนด สำหรับการวิจัยเน้นการทำวิจัยที่จะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับและมีผลกระทบสูง สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมทางออร์โธปิดิกส์ การสร้างและพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่